เปิดเทอม

Checklist ที่จำเป็นในการเตรียมพร้อมไปโรงเรียน

เปิดเทอม กลางเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่แทบจะทุกโรงเรียนเปิดเทอมกัน หลังจากที่หยุดปิดเทอมมาอย่างยาวนาน จนหลายคนลืมเนื้อหาบทเรียนก่อนหน้านี้ไปแล้ว แต่ถึงยังไงเปิดเทอมนี้ก็จะต้องโตขึ้นอีกขั้น หลายๆ สิ่งที่ควรแก้ไข หรือควรเตรียมตัวก่อนเปิดเทอมเพื่อให้การเรียนในระดับต่อไปมีความพร้อมมากขึ้นมีอะไรบ้าง ไป check กัน

10 Checklist มีอะไรบ้าง

  1. เริ่มฝึกตื่นให้เช้าขึ้น

หลายๆ คนตอนปิดเทอมก็จะนอนดึกและตื่นสาย เพราะอาจจะเล่นเกม ดูซีรี่ส์ เพราะช่วงปิดเทอมก็เป็นระยะเวลาที่นาน ทำให้เราอาจปรับเวลาไม่ทันและอาจไปโรงเรียนสายได้ ควรรีบปรับเวลาเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนและทำให้ไม่ง่วง รวมทั้งไม่ไปโรงเรียนสายด้วย

  1. เตรียมอุปกรณ์การเรียน

ใกล้ถึงวันเปิดเทอมน้องๆ ควรจะเช็คอุปการณ์การเรียน ไม่ว่าจะเป็น ปากกา ยางลบ ดินสอ ไฮไลต์ สมุด หรืออุปกรณ์การเรียนเมื่อปีที่แล้วของเรานั้นยังอยู่ครบหรือไม่ ถ้าขาดอันไหนจะได้รีบไปหาซื้อได้ทัน

  1. เครื่องแบบ เครื่องแต่งกาย มันเก่าหรือยัง

ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้เสียเงินซื้อใหม่ แต่ว่าถ้าเสื้อเราดูหมอง ดูเก่า เวลาใส่มันจะดูไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เราควรเช็คเครื่องแบบของเราให้เพียบพร้อมก่อนจะลุยศึกการเรียนก่อนเปิดเทอม เนื่องจากจะดูสง่าแล้ว ยังดูเด่นอีกด้วยนะ

     4. ไปแอบสืบวิชาที่จะเรียนในเทอมที่จะถึง

ถ้ามีเวลาน้องๆ ควรจะไปถามเพื่อนๆ รุ่นพี่ หรือคุณครูว่าในเทอมนี้จะต้องเรียนเนื้อหาอะไรบ้าง หรือบางโรงเรียนแจกแผนการสอนล่วงหน้าก็ยิ่งดี เพราะจะได้เตรียมหาหนังสืออ่านเสริมบทเรียนมาไว้ก่อน และถ้าจะให้ดีมีเวลาก็ควรจะอ่านไปก่อนเพื่อที่เมื่อตอนเรียนจะได้เรียนไปได้ไวขึ้นนั่นเอง

     5. ตั้งเป้าหมายใหม่

ไม่ว่าการเรียนที่ผ่านมานั้นจะเป็นอย่างไร น้องๆ ควรมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนใหม่ โดยเป้าหมายนี้ควรสูงกว่าสิ่งที่เคยทำได้เมื่อปีก่อน หรือถ้าหากว่าเคยทำได้ดีอยู่แล้วก็ควรรักษาระดับไว้ให้ได้ เช่น ถ้าปีที่แล้วได้เกรด 3 ปีนี้ก็ควรตั้งเป้าหมายว่าจะต้องได้เกรด 4 และพยายามทำให้ได้ด้วยละไม่ใช่ตั้งเป้าหมายอย่างเดียว

เปิดเทอม

    1. เลือกที่นั่งให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

    การเลือกที่นั่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากเราจะได้นั่งใกล้เพื่อนที่เราสนิทสนมแล้วทั้งนี้ทั้งนั้น คนส่วนใหญ่มักจะแย่งที่นั่งกัน ดังนั้นถ้าไปเร็วก็จะได้เลือกที่นั่งก่อน เชื่อเถอะยิ่งนั่งหน้ายิ่งได้รับความรู้เต็มๆ

    1. อย่าค้างงาน

    พยายามดีดตัวเองให้ขยันขึ้นสักนิดหน่อย และไม่ค้างงาน เชื่อได้เลยว่าการใช้ชีวิตในการเรียนของเราต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน ไม่เชื่อลองทำดูสิ

    1. รู้เขารู้เรา

    คุณครูของเรานั่นแหละที่ควรทราบนิสัยใจคอ และวางแผนการเรียนกับครูคนนี้ยังไงให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากจะเป็นที่รักของคุณครูแล้ว รับรองการเรียนจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ถ้าเราเข้าใจสิ่งที่ท่านถ่ายทอดและเข้าอกเข้าใจท่าน แถมการเรียนจะง่ายขึ้นเป็นกอง

    1. ลองหากิจกรรมทำสักอย่างเพื่อผ่อนคลาย

    มีหลากหลายคนนัก ไม่ว่าจะเป็นหลักพักทานอาหารกลางวัน หรือเลิกเรียน ก็ไม่รู้จะทำอะไรดี ลองหาอะไรสักอย่างทำเป็นชิ้นเป็นอัน อาทิเช่น ชมรมต่างๆ กิจกรรม จิตอาสา สิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นพอร์ตในการเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตด้วย แถมยังได้รู้จักเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อีกตั้งมากมาย แถมมีทักษะด้านต่างๆ เสริมด้วย

    1. หัดทบทวนบทเรียน เป็นสิ่งสำคัญ

    เชื่อว่าหลายคนอาจละเลยจุดนี้ไป การทบทวนบทเรียนสามารถช่วยให้เราไม่ต้องทุ่มอ่านหนังสือเยอะก่อนสอบด้วย ยิ่งเราสะสมเก็บการอ่านไปทุกๆ วัน แน่นอนการสอบเราจะไม่ต้องอ่านเยอะแค่ทบทวน ก็สามารถทำข้อสอบได้อย่างสบายๆ มีเวลาก็ลองทำดูไม่เสียหาย

    เปิดเทอม ถึงเวลาตื่นตัวแล้วหลังจากปิดเทอมกันมาอย่างยาวนาน หลายคนคงได้พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ ใช้ชีวิตกันตามสไตล์ตัวเอง อย่างไรก็แล้วแต่ใกล้จะได้กลับไปเรียนกันอีกครั้ง ต้องตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้ให้ดีว่าจะเริ่มทำอะไรก่อน check list การเตรียมตัวก่อนเปิดเทอมที่นำมาฝากนี้ สามารถนำไปใช้วางแผนและเตรียมตัวให้พร้อมต้อนรับวันเปิดเทอมได้ตามเป้าหมาย

     

    คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)

    ปลุกลูกให้ตื่นนอนแต่เช้าทำอย่างไร ?

    • จัดตารางกิจกรรมก่อนนอน
    • ให้ลูกเข้านอนเป็นเวลา และปลุกให้เร็วขึ้น 10 นาที
    • ปลุดด้วยจู่โจมแบบเบาๆ
    • ให้ลูกจัดเตรียมชุดนักเรียนและสิ่งของไปโรงเรียนด้วยตัวเอง

    วิธีแก้ไขไม่ให้ลูกทำอุปกรณ์การเรียนหายบ่อย ?

    • เขียนหรือติดชื่อไว้ที่ดินสอ ยางลบ ปากกา ให้ครบ และสอนลูกให้รู้คุณค่าของสิ่งของ

    เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียนทำยังไงดี ?

    • โน้มน้าวความสนใจให้ลูกเห็นถึงความสนุกในโรงเรียน / ให้ลูกช่วยจัดกระเป๋า / สอนลูกให้หาเพื่อนสนิท

    ลูกโดนแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

    • ตั้งใจฟังรายละเอียดที่ลูกเล่า และแสดงความเห็นอกเห็นใจ
    • สอนให้ลูกปกป้องตนเอง แต่ไม่ใช่การตอบโต้รุนแรง
    • สอนการแบ่งปัน การให้อภัย และกติกาที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อน
    • ร่วมมือกับทางโรงเรียนเพื่อหาทางออกของปัญหา

ที่มา

https://www.top-atutor.com/15245234/checklist

https://www.sanook.com/campus/1390205/

https://www.pexels.com/th-th/photo/8466783/

https://www.pexels.com/th-th/photo/8613121/

 

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กได้ที่  dzvery.com