มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ ช่วยพา “พลายศักดิ์สุรินทร์” กลับไทยด้วยเครื่องบิน

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ (มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และอุทิศตนเพื่อปกป้องช้างไทยและช่วยเหลือช้างแก่และช้างพิการ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และอุทิศตนเพื่อปกป้องช้างไทยและช่วยเหลือช้างแก่และช้างพิการ ผ่านวิธีการหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ท้องถิ่นกู้ภัยและโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดำเนินงานด้านการศึกษาการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีช้างที่อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 101 เชือก โดยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นช้างแก่ ช้างพิการที่เคยผ่านการใช้งานและทารุณกรรมมาอย่างหนัก  

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ มีประสบการณ์ขนย้ายช้างด้วยเครื่องบิน

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม มีประสบการณ์ขนย้ายช้างด้วยเครื่องบิน พร้อมช่วยพาพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้านไทย ให้ยืมกรงขนย้ายไม่ต้องไปทำใหม่ให้เปลืองงบประมาณ เผยขั้นตอนขนย้ายช้างละเอียดอ่อน ฝึกเข้ากรงหลายสัปดาห์ หากขนย้ายไม่เหมาะสมเสี่ยงงาหัก ช้างบาดเจ็บ

การนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับมายังประเทศไทย ซึ่งส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี ที่ศรีลังกา เมื่อ 22 ปีก่อน แต่กลับไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จนร่างกายทรุดโทรมขาหน้าด้านซ้ายงอไม่ได้ มีฝีขนาดใหญ่บริเวณหลัง โดยหน่วยงานภาครัฐไทยคาดว่า 1 ก.ค. นี้ สามารถนำพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมาได้

แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ฐานะที่เคยมีประสบการณ์ในการขนย้ายช้างทางเครื่องบินระหว่างประเทศ และติดตามการทวงคืนพลายศักดิ์สุรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เคยไปศึกษาวิจัยชีวิตช้างไทยที่ถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี ในศรีลังกา แต่ความเป็นจริงกลับนำช้างไปไว้ในวัด เพื่อเป็นช้างในขบวนแห่ แต่ละปีช้างต้องเดินในขบวนพิธีหลายครั้งจนร่างกายทรุดโทรม เช่น ต้องเดินในขบวนแห่ 10 วัน 10 คืน

ช้างไทยที่ถูกส่งไปในศรีลังกามีอีกสองเชือก ถูกใช้งานในขบวนแห่อย่างทารุณ หากมีอาการตกมันจะถูกฉีดยา เพื่อให้สามารถมาเดินร่วมในขบวนแห่ได้ จนมาวันหนึ่งได้พบช้างเชือกหนึ่งล้มลงในขบวนแห่ และได้ถ่ายภาพโพสต์ลงในโซเชียล จนมีเสียงวิจารณ์จากทั่วโลก ทำให้หน่วยงาน RARE องค์กรพิทักษ์สัตว์ ศรีลังกา มาปรึกษาเพื่อรณรงค์ พาช้างไทยในศรีลังกากลับบ้าน

โดยอาทิตย์ก่อน RARE องค์กรพิทักษ์สัตว์ ศรีลังกา เดินทางมาไทย เพื่อยื่นหนังสือไปยังภาครัฐ ให้รีบนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย โดยยื่นหนังสือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งข้อเท็จจริง มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ต้องการนำพลายศักดิ์สุรินทร์ เข้ามาดูแล เพราะไม่มีพื้นที่เพียงพอในการดูแลช้าง จึงไม่มีความคิดนำพลายศักดิ์สุรินทร์ มาอยู่ในความดูแลของหน่วยงาน แต่อยากให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีความพร้อมมากกว่า

เปิดขั้นตอนขนย้ายช้างทางเครื่องบิน

แสงเดือน เล่าถึงประสบการณ์การขนย้ายช้างทางเครื่องบินว่า ที่ผ่านมาเคยขนย้ายช้างทางเครื่องบินหลายเชือก เช่น ขนย้ายช้างจากปากีสถาน มาศูนย์พักฟื้นที่กัมพูชา และกำลังจะขนช้างอีก 2 เชือก จากยูเครน มาที่กัมพูชา สำหรับกรณีขนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์ ไม่ใช่พูดวันนี้ แล้วพรุ่งนี้ขนมาได้เลย ยิ่งถ้าไม่ให้ยาซึมในระหว่างขนย้าย ช้างตัวผู้ ที่อยู่ในกรงขนาดเล็กบนเครื่องบินขนส่ง อาจใช้งางัดกรงจนงาหักได้

กรงขนย้ายช้าง ทางหน่วยงานมีกรงที่ใช้ขนย้ายช้างทางเครื่องบิน เคยเสนอเพื่อให้ยืมมาขนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์ โดยไม่ต้องเสียงบประมาณทำใหม่ เพราะกรงดังกล่าว เคยทำเพื่อขนย้ายช้างที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 6–7 ตัน หากหน่วยงานรัฐต้องการสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี

ขั้นตอนสำคัญในการขนย้ายช้างทางเครื่องบิน ต้องฝึกช้างให้เดินเข้ากรง เป็นขั้นตอนที่ยาก ใช้การฝึกหลายอาทิตย์ ประกอบกับพลายศักดิ์สุรินทร์ มีงายาวเป็นลักษณะไขว้ ต้องดูว่าพื้นที่กรงขนาดไหน ที่ช้างสามารถอยู่ได้ โดยไม่เกิดอันตรายกับงา หรือต้องดัดแปลงกรง ให้มีความปลอดภัย ไม่ให้ช้างใช้งางัดกรงระหว่างเครื่องขึ้นบินกำลังทำงานการขนส่งช้างทางเครื่องบินต้องมีการมัดขาหน้า ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้ช้างบาดเจ็บ ถ้าไม่มัดขาหน้า ช้างจะปีนกรง และเขย่ากรงระหว่างการขนส่ง จากประสบการณ์ช่วงที่ช้างตื่นตระหนกมากที่สุดคือ ช่วงที่เครื่องบินกำลังขึ้น เนื่องจากเสียงเครื่องบินจะทำให้ช้างตกใจ ที่ผ่านมาเคยใช้เวลาฝึกช้าง ก่อนการขนย้ายทางเครื่องบินประมาณ 3 เดือน กรณีของพลายศักดิ์สุรินทร์ ทางหน่วยงานพร้อมเข้าไปช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในการขนย้าย เพื่อนำช้างไทยกลับมาดูแลในศูนย์พักพิงของรัฐ

ที่ผ่านมามีการส่งช้างไทย ไปยังต่างประเทศหลายแห่ง โดยเฉพาะในจีน แต่ไม่มีกระบวนการติดตามสวัสดิภาพช้างไทยต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระบวนการส่งต่อช้างไทยอย่างไม่ถูกต้อง จึงอยากให้มีกระบวนการตรวจสอบร่วมกับองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านนี้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน.

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ

ประวัติผู้ก่อตั้งมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่

แสงเดือน “เล็ก” ชัยเลิศ เกิดในหมู่บ้านชาวเขาบ้านเหล่า ไปทางตอนเหนือของเชียงใหม่สองชั่วโมง ครอบครัวคุณเล็กเลี้ยงดูท่ามกลางสัตว์ คุณเล็กเป็นลูกหลานเผ่าขมุ ถูกเลี้ยงดูให้คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง และครอบครัวปลูกฝังให้เธอมีความรักและเมตตาต่อสัตว์ บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจและทำให้เธอได้เรียนรู้ที่จะรักและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น คุณแม่ผ่องศรีและคุณปู่ของเธอที่ปลูกฝังให้เธอได้รู้ว่าหนึ่งชีวิตมีสิทธิเท่าเทียมกัน คุณเล็กได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๔๗-๒๕๔๘ จากนั้นก็เข้าสู่การทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช้าง ระหว่างช่วยเจ้าของบริษัทเดินป่าหาที่อยู่ให้ช้างตกงาน คุณเล็กได้รู้เกี่ยวกับการทารุณและทอดทิ้งที่ช้างเลี้ยงเอเชียต้องประสบ ด้วยความรักและเคารพสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศและรู้ว่าช้างเป็นสัตว์ที่ ใกล้สูญพันธุ์ คุณเล็กเริ่มสนับสนุนสิทธิและสวัสดิการของช้างเอเชียในประเทศไทย

มูลนิธิ อนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อไทยให้การดูแลและให้ความช่วย เหลือประชากรช้างเป็นเชลยของไทยผ่านวิธีการหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ท้องถิ่นกู้ภัยและโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดำเนินงานด้านการศึกษาการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ละโครงการเรือธงของเรามีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุภารกิจเช่นเดียวกับการทำงานที่มีต่อเป้าหมายเหล่านี้ ที่จะขยายตนเองอย่างยั่งยืนการดำเนินงานของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและระบบนิเวศให้ดีขึ้น รวมความพยายามของเราในชุมชน ท้องถิ่นและเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ของพวกเขาผ่านการดำเนินงานต่อเนื่องของเรา จะกลายเป็นผู้นำในด้านการวิจัยช้างเอเชียผ่านการขยายทางวิชาการและโปรแกรม การศึกษาเพื่อสร้างการปฏิบัติการฝึกอบรมการเสริมแรงบวกช้างและโปรแกรมการฟื้นฟู สมรรถภาพ เพื่อสร้างชุมชนอาสาสมัครระหว่างประเทศที่เพิ่มความตระหนักถึงประเด็นปัญหาช้างเอเชียมากขึ้นอย่างเต็มที่ร่วมกับชุมชนอนุรักษ์ทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในเครือข่ายข้ามวัฒนธรรมแบบไดนามิก

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม

  1. ดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และปกป้องช้างไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  2. เพื่อดำเนินการเพื่อการศึกษาและวิจัยเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของช้างไทย
  3. ดำเนินกิจกรรมเพื่อ รณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยให้เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในประเทศ
  4. ให้ความช่วยเหลือและดูแล ช้างแก่ช้างบาดเจ็บและช้างพิการ
  5. มีการรณรงค์ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่เยาวชนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจเรื่องช้างและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
  6. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆเพื่อสาธารณประโยชน์
  7. ส่งเสริมทางด้านวัฒนธรรมและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามให้สืบทอดต่อไป
  8. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมในชนบท
  9. สนับสนุนและการส่งเสริมในด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  10. ดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
  11. ดำเนินกิจกรรมเพื่อการสนับสนุนให้การช่วยเหลือคนและสัตว์ให้มีสถาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  12. ดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นสาธารณประโยชน์ต่อประชาชนในเรื่องความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของรัฐ
  13. สนับสนุนด้านส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นโดยการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน
  14. มุ่ง เน้นสนับสนุนในด้านการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสโดยการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ เด็กด้อยโอกาสและการยกระดับความรู้ความสามารถแก่เด็กในท้องถิ่นที่ห่างจาก ความเจริญได้มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น
  15. ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ของคนเลี้ยงช้างให้มีความภูมิใจในอาชีพของตนเองโดยการสับสนุนอาชีพเสริม เช่น การปลูกกาแฟใต้ต้นไม้,การส่งเสริมให้ครอบครัวมีรายได้เสริม จาก อาชีพทอผ้าฝีมือหรือการร้อยปักสร้อยหินและการจ้างงานชาวบ้านปลูกบ้าน
  16. ดำเนิน การจัดทำสื่อศึกษาและสารสนเทศน์ด้านการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้มาสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  17. ดำเนินการจัดทำสื่อศึกษาและสารสนเทศน์แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปพื่อเป็นให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์
  18. ดำเนินการจัดทำกิจกรรมจำหน่ายของที่ระลึกเพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
  19. ไม่มีดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด ฯลฯ

โครงการของมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่

  • เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค
ณ โพ้นป่าคอนกรีตแห่งเชียงใหม่ ประเทศไทย ยังมีป่าที่ต่างไปโดยสิ้นเชิง ป่าแท้จริงที่ซึ่งภูเขาเขียวชอุ่มปกคลุมไปด้วยต้นไม้นั้นเป็นบ้านของสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ ภายในป่านี้คือสถานที่แสนพิเศษ นั่นคือศูนย์บริบาลช้าง (ENP)
  • การดูแลช่วยเหลือช้าง
โครงการการดูแลช่วยเหลือช้างเป็นโครงการล่าสุดในมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 และมอบประสบการณ์แสนพิเศษกับช้างให้แก่ผู้มาเยือน
  • สุรินทร์โปรเจค
โครงการสุรินทร์ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เพื่อช่วยเหลือควาญช้างที่อาศัยอยู่ในศูนย์คชศึกษาและมอบชีวิตที่ดีขึ้นให้กับช้างของพวกเขา
  • โครงการพาช้างกลับบ้านแม่แจ่ม
โครงการก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหมายให้มีการพัฒนาคุณภาพ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของช้างไทยให้ดีขึ้นโดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับช้างและป่า
  • โครงการช่วยเหลือสุนัข
แม้ว่าสุนัขและช้างจะไม่ได้อยู่ร่วมกันในป่า มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมมอบบ้านแสนอบอุ่นให้กับทั้งสองสายพันธุ์ที่ศูนย์บริบาลช้าง โครงการช่วยเหลือสุนัขศูนย์บริบาลช้างเป็นผลมาจากภัยพิบัติน้ำท่วมในกรุงเทพในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554
  • เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าประเทศกัมพูชา
มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมทำงานภายใต้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากัมพูชา เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ป่าที่อยู่อาศัยขนาด 1 ล้านเอเคอร์ ซึ่งอยู่ห่างไปทางตอนเหนือของนครวัดประมาณหนึ่งชั่วโมง โครงการครอบคลุมพื้นที่ 25,000 เอเคอร์
  • (SEF) ประเทศพม่า
การเริ่มต้นของมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม (SEF) พม่านับเป็นมูลนิธิระหว่างประเทศแห่งแรกที่เปิดในประเทศและทำงานร่วมกับรัฐบาลและผู้คน
  • ไทยแลนด์แคร์
ไทยแลนด์แคร์เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชุมชนชาวเขาท้อถิ่นของภาคเหนือ ประเทศไทย โดยการพัฒนาทุกๆ ด้านของชีวิตประจำวัน โครงการมอบโอกาสให้เด็กๆ ได้ไปโรงเรียน
  • การฟื้นฟูป่า
การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ประสบกับประชากรช้างเอเชีย การศึกษาในปี พ.ศ. 2554 โดยกลุ่มอนุรักษ์สากลจัดอันดับภูมิภาคป่าอินโด-พม่า ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพม่า

ช้างถือว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สัตว์ป่าต่างๆ มากมาย เช่น ขนาดตัวที่ใหญ่ของมันช่วยเดินเปิดเส้นทางให้สัตว์สายพันธุ์อื่น การสร้างแหล่งน้ำโดยการใช้งาขุดเจาะพื้นดินเพื่อให้สัตว์อื่นๆ มีแหล่งน้ำใช้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์พืชไปยังส่วนต่างๆ ของผืนป่าผ่านการขับถ่าย ในปัจจุบันจำนวนที่อยู่อาศัยของช้างมีจำนวนลดลง เนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าของมนุษย์  ดังนั้นจึงทำให้ช้างและสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกรุกรานเอาเปรียบและมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ในที่สุด การที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือการเดินทางของพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย เพราะไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจนร่างกายทรุดโทรม ถือเป็นการช่วยเหลือให้ช้างกลับมาได้อย่างปลอดภัยที่สุด

ที่มา

 

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่  dzvery.com

สนับสนุนโดย  ufabet369